วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559


เทศกาลดอกลำดวน สืบสานประเพณี สี่เผ่าไท  จังหวัดศรีสะเกษ

เทศกาลดอกลำดวน สืบสานประเพณี สี่เผ่าไท จังหวัดศรีสะเกษ



“ร่วมเรียนรู้  เข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอีสานใต้  ประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษและเทศกาลดอกลำดวน  สัมผัสเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า  ส่วย  ลาว  เยอ  และเขมร  วิถีชีวิต  ความเชื่อ  การแต่งกาย  ภายใต้ทิวไม้ที่สะพรั่งด้วยดอกลำดวนบานเต็มสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์”
จากความร่วมมือของจังหวัดศรีสะเกษ  มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ  ได้ทำให้งานเทศกาลดอกลำดวนบาน  สืบสานประเพณีสี่เผ่าไท  เป็นรูปเป็นร่างขึ้น  โดยใช้สถานที่บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ  เป็นสถานที่จัดงาน  ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่
บรรยากาศภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ  ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมสร้างความร่มรื่น  และเย็นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน  ท่ามกลางใบไม้เขียวประดับด้วยดอกลำดวนหน้าตาคล้ายกับขนมกลีบลำดวนที่เราคุ้นเคย  ยามเย็นสายลมอ่อนพัดพากลิ่นดอกลำดวนหอมแบบไทยๆ  ชวนนึกย้อนสู่วันวาน  นั่งชมการแสดงทางวัฒนธรรม  วิถีชีวิตของชนเผ่าไทศรีสะเกษ  ส่วย  เขมร  ลาว  เยอ  ความหลากหลายกลายเป็นเสน่ห์ของผู้คนชาวอีสานใต้  ที่สามารถถ่ายทอดสู่สายตาทุกคู่ได้อย่างลึกซึ้ง
เพลงชาติไทย
พร้อมด้วยกิจกรรมร่วมสมัย  ไล่เรียงจากการแสดงภาพเขียน  งานศิลปะของศิลปินระดับชาติและท้องถิ่น  การแสดงศิลปะพื้นบ้าน  กิจกรรมลานธรรม  สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและรูปหล่อพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดศรีสะเกษ  และกิจกรรมเชิดชูผู้สูงอายุ  ให้สมกับที่ดอกลำดวนนั้นเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุนั่นเอง
ปิดท้ายสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความสนุกสนาน  กิจกรรมบันเทิง  งานรื่นเริง  ร่วมลุ้นเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนในการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งไทย  เลือกซื้อสินค้าชุมชนพื้นเมือง  ไม้ดอกไม้ประดับ  ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น  อย่าพลาดกิจกรรมดีๆ  ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดงานกว่า ๑ สัปดาห์นั้นจะช่วยให้คุณเข้าใจ  รักและหวงแหนในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่  และเกิดคุณค่าส่งต่อให้คนรุ่นต่อๆ ไป
          –   วันเวลาการจัดงาน : ช่วงเดือนมีนาคม
–   สถานที่จัดงาน : สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ

เทศกาลดอกลำดวน สืบสานประเพณี สี่เผ่าไท  จังหวัดศรีสะเกษ

เทศกาลดอกลำดวน สืบสานประเพณี สี่เผ่าไท จังหวัดศรีสะเกษ



“ร่วมเรียนรู้  เข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอีสานใต้  ประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษและเทศกาลดอกลำดวน  สัมผัสเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า  ส่วย  ลาว  เยอ  และเขมร  วิถีชีวิต  ความเชื่อ  การแต่งกาย  ภายใต้ทิวไม้ที่สะพรั่งด้วยดอกลำดวนบานเต็มสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์”
จากความร่วมมือของจังหวัดศรีสะเกษ  มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ  ได้ทำให้งานเทศกาลดอกลำดวนบาน  สืบสานประเพณีสี่เผ่าไท  เป็นรูปเป็นร่างขึ้น  โดยใช้สถานที่บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ  เป็นสถานที่จัดงาน  ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่
บรรยากาศภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ  ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมสร้างความร่มรื่น  และเย็นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน  ท่ามกลางใบไม้เขียวประดับด้วยดอกลำดวนหน้าตาคล้ายกับขนมกลีบลำดวนที่เราคุ้นเคย  ยามเย็นสายลมอ่อนพัดพากลิ่นดอกลำดวนหอมแบบไทยๆ  ชวนนึกย้อนสู่วันวาน  นั่งชมการแสดงทางวัฒนธรรม  วิถีชีวิตของชนเผ่าไทศรีสะเกษ  ส่วย  เขมร  ลาว  เยอ  ความหลากหลายกลายเป็นเสน่ห์ของผู้คนชาวอีสานใต้  ที่สามารถถ่ายทอดสู่สายตาทุกคู่ได้อย่างลึกซึ้ง
เพลงชาติไทย
พร้อมด้วยกิจกรรมร่วมสมัย  ไล่เรียงจากการแสดงภาพเขียน  งานศิลปะของศิลปินระดับชาติและท้องถิ่น  การแสดงศิลปะพื้นบ้าน  กิจกรรมลานธรรม  สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและรูปหล่อพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดศรีสะเกษ  และกิจกรรมเชิดชูผู้สูงอายุ  ให้สมกับที่ดอกลำดวนนั้นเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุนั่นเอง
ปิดท้ายสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความสนุกสนาน  กิจกรรมบันเทิง  งานรื่นเริง  ร่วมลุ้นเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนในการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งไทย  เลือกซื้อสินค้าชุมชนพื้นเมือง  ไม้ดอกไม้ประดับ  ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น  อย่าพลาดกิจกรรมดีๆ  ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดงานกว่า ๑ สัปดาห์นั้นจะช่วยให้คุณเข้าใจ  รักและหวงแหนในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่  และเกิดคุณค่าส่งต่อให้คนรุ่นต่อๆ ไป
          –   วันเวลาการจัดงาน : ช่วงเดือนมีนาคม
–   สถานที่จัดงาน : สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
ประเพณีบุญผะเหวด  จังหวัดร้อยเอ็ด
ประเพณีบุญผะเหวด  จังหวัดร้อยเอ็ด
          “ประเพณีบุญผะเหวด  หรืองานบุญเดือนสี่  ภาพจำลองเรื่องราวมหาชาติชาดก  ครั้งที่พระเวสสันดรกลับเข้าเมือง  ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา  ของขบวนแห่ทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ฟังเทศน์มหาชาติ  แห่กัณฑ์จอบ  กัณฑ์หลอน  แห่ข้าวพันก้อน  เทศน์สังกาด  บุญใหญ่ที่สร้างความสุขสนุกสนานแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน”
จังหวัดร้อยเอ็ด  ได้เริ่มฟื้นฟูงานประเพณีบุญผะเหวดขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔  ซึ่งได้มีการกำหนดจัดงานในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม ณ บึงผลาญชัย  และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  เริ่มตันวันศุกร์ด้วยการแห่พระอุปคุต  วันเสาร์  ขบวนแห่ ๑๓ กัณฑ์  และวันอาทิตย์  ฟังเทศน์มหาชาติและแห่กัณฑ์จอบ  กัณฑ์หลอน  ขบวนต่างๆ ล้านเกิดจากความร่วมใจของชาวบ้าน  ที่แสดงออกถึงจตุปัจจัยที่ร่วมกัน  ถวายแด่พระที่กำลังเทศน์อยู่ในขณะนั้น  และเจาะจงถวายแด่พระที่ศรัทธาซึ่งเทศน์ในวันนั้น
เพลงชาติไทย
เข้าสู่งานประเพณี  ชาวร้อยเอ็ดจะอัญเชิญพระอุปคุตแห่รอบเมือง  เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดภัยพิบัติและให้ทำมาค้าขึ้น  จากนั้นเริ่มพิธี “มหามงคลพุทธมนต์  พระอุปคุตเสริมบารมี”  เข้าสู่วันที่สอง  ช่วงเช้าแจกสัตสดกมหาทาน  บริจาคสิ่งของแด่ผู้ยากไร้  ตามด้วยไฮไลท์ของงานคือ  ขบวนแห่ตำนานพระเวสสันดร ๑๓ กัณฑ์  ภาพขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองที่สมจริง  งดงามด้วยสีสันและท่วงท่าการร่ายรำ  พระเวสสันดรทรงช้างมาพร้อมด้วยพระนางมัทรี  ห้อมล้อมด้วยเหล่าทหารที่ยิ่งใหญ่
ถึงวันสุดท้าย  พิธีแห่ข้าวพันก้อน (ข้าวเหนียวปั้นเล็กๆ  จำนวน ๑,๐๐๐ ก้อน)  และเทศน์สังกาด (เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนา  เริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน)  ร่วมทำบุญตักบาตร  เคล้าด้วยเสียงของการเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ตลอดทั้งวัน  ช่วงสายๆ ขบวนแห่ถวายต้นเงิน  หรือต้นกัณฑ์จอบ  กัณฑ์หลอนของพุทธศาสนิกชนนำมาถวายพระภิกษุภายในบึงผลาญชัย  นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมการจัดประกวดธงผะเหวด  การประกวดภาพวาด  ภาพถ่ายประเพณีบุญผะเหวด  การแข่งกินขนมจีน  สร้างความสนุกสนานได้ตลอดงาน
–  วันเวลาการจัดงาน : ช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี (บุญเดือนสี่)
–  สถานที่จัดงาน : บึงผลาญชัย  สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  อ.เมืองร้อยเอ็ด
ประเพณีไหลเรือไฟกับความเชื่อของภาคอีสาน

ประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำ โดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน  แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่นิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนที่พระพุทธศาสนา จะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เนื่องจากสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ไทยยังยืดถือพิธีพราหมณ์อยู่

ความเชื่อในประเพณีไหลเรือไฟ

สำหรับจังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย  จังหวัดอุบลราชธานี และอื่นๆ มักจะมีพิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน ส่วนมูลเหตุของความเชื่อนั้นมีด้วยกันหลายประการ เช่น
             เชื่อว่าเป็นการบูชาประทีปตามประเพณี  จะก่อให้เกิดอานิสงส์แก่ผู้กระทำคือ การได้ถวายพุทธบูชาด้วยประทีปโคมไฟ จะทำให้เป็นผู้มีตาทิพย์ รู้แจ้งและเกิดปัญญา สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เชื่อว่าเป็นการบูชาพญานาค ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาแม่น้ำ และช่วยคุ้มครองคนที่สัญจรทางน้ำให้มีความปลอดภัย
เชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท จากตำนานได้กล่าวมาว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรดเหล่าพญานาคที่ภพนาค ก่อนเสด็จกลับ เหล่าพญานาคได้ขอให้พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้สักการะ ณ ริมฝั่งแม่น้ำ เชื่อว่าเป็นการบูชาพระแม่โพสพ บูชาพระแม่คงคาที่ประทานความอุดมสมบูรณ์ ให้แก่เหล่ามนุษย์
ประเพณีแห่นางแมว ประวัติความเป็นมา ประเพณีแห่นางแมว

ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมว
          เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำเลือกสวนนาไร่จำเป็นต้องอาศัยน้ำจำนวนมาก ดังนั้นหากวันหนึ่งฝนที่เคยตกต้องตามฤดูกาลไม่ตกเช่นเคยย่อมสร้างความเดือนร้อนให้กับชาวนาชาวไร่ทั่วไป เพราะฉะนั้นเพื่อให้ฝนตกลงมาจะได้มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตรกรรมจึงต้องทำพิธี “แห่นางแมว” ขึ้น

สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมวนั้น คนไทยมีความเชื่อว่าฝนตกลงมาเพราะเทวดา เมื่อฝนไม่ตกจึงต้องทำพิธีขอฝนกับเทวดา แต่บางความเชื่อกล่าวว่าเมื่อแผ่นดินแห้งแล้ง สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีควันและละอองเขม่าควันจะต้องขอน้ำจากเทวดามาช่วยล้างเพราะน้ำฝนเป็นน้ำของเทวดา เนื่องจาก เทโว แปลว่า ฝน นั่นเอง
ประเพณีสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อ ประเพณี บุญผะเหวด 2559 ประเพณี จ.หนองคาย 

ประเพณีสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อ ประเพณี บุญผะเหวด 2559 ประเพณี จ.หนองคาย


หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะ ของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ.2105โดยชาวบ้านน้ำโมงในสมัยนั้นได้มีมติให้สร้างพระพุทธรูป เพื่อเป็นที่สักการะแด่คนรุ่นหลัง จึงเรี่ยไรเงิน ทองแดง ทอง ทองเหลืองน้ำหนักรวมกันได้ 1 ตื้อ หรือประมาณ 12,000 กิโลกรัม พระสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมกันหล่อเป็นส่วนๆ และหล่อตอนพระเกศเป็นอันดับสุดท้าย แล้วนำมาประกอบเป็นองค์พระประดิษฐานในวัดศรีชมพูองค์ตื้อ หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ฝีมือช่างฝ่ายเหนือและล้านช้าง ผสมผสานศิลปกรรมล้านนาและล้านช้าง นับเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก ถือเป็นพระปรานซึ่งหล่อด้วยสำริด องค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดหนองคาย หน้าตักกว้าง 3 เมตร 29 เซนติเมตร สูง 4 เมตร
สำหรับชาวหนองคายและประชาชนทั่วไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเชื่อว่าหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักแม้พระพุทธรูปจำลองที่สร้างขึ้นภายหลังก็ยังเลิศด้วยพระบารมี ในยุคสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้กำหนดเป็นพระราชพิธีที่กษัตริย์เวียงจันทร์ต้องเสด็จมานมัสการทุกปีในเดือนสี่ งานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อหรือประเพณีสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อเรียกว่าบุญเดือนสี่หรือบุญผะเหวด จัดเป็นประจำทุกปี กำหนดเอาวันเพ็ญเดือนสี่คือเพื่อให้พุทธศาสนิกชนบำเพ็ญบุญส่งเสริมรักษาประเพณีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา เมื่อเทศกาลบุญเดือนสี่มาถึงลูกหลานที่ไปอยู่หรือทำงานต่างถิ่นจะกลับมานมัสการถวายเครื่องสักการะบูชาเพื่อขออานุภาพหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อคุ้มครองให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต.